Skip navigation

ชาวรามัญหรือมอญ เดิมเป็นชนชาติผู้มีอารยธรรมอยู่ในประเทศพม่า มีประวัติความเป็นมานับพันปีมีความผูกพันกับชาวไทย มาแต่ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อ 400 กว่าปีมาแล้ว โดยเข้าร่วมรบกับกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตีทัพพม่า มีความดีความชอบเป็นอันมาก แม้พระมหาเถรคันฉ่องอันเป็นพระภิกษุมอญ ผู้ที่ช่วยชีวิตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเอาไว้ ที่เมืองแครงก็ได้รับสถาปนาเป็นพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระนพรัตน์” ครองวัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช ชาวมอญได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาพเป็นอันมาก ทรงพระราชทานที่ดินให้เป็นชุมชนมอญทั้งในกรุงเทพฯ ปากเกร็ด ปทุมธานี ราชบุรี กาญจนบุรี และนครเขื่อนขันธ์(พระประแดง)

ชาวมอญชำนาญด้านการ ค้า ทั้งเครื่องดินเผาและสินค้าการเกษตร ไปจนถึงงานฝีมือ ส่วนนักรบมอญเองก็มีฝีมือทางการรบ เข้าอาสาทำราชการจนมีบรรดาศักดิ์เป็นอันมาก ร่วมรบในสงคราม ท่าดินแดงและสงคราม 9 ทัพ อย่างกล้าหาญ

ชุมชนมอญที่พระประแดง นับว่าใหญ่โตกว้างขวางและเป็นปึกแผ่นแน่นหนา เป็นชุมชนที่สามารถรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของมอญไว้ได้อย่างงดงาม แม้ประเพณีสงกรานต์มอญ หรือที่เรียกว่า “งาน สงกรานต์ปากลัด” ก็ยังคงสืบทอดและเป็นที่รู้จักของชาวไทยทั่ว ประเทศมาจนทุกวันนี้

แม้ ในพม่ารัฐบาลทหารจะถือว่ามอญเป็นชนกลุ่มน้อย แต่ในเมืองไทยนั้นชาวมอญหรือที่เรียกว่า “คนไทยเชื้อสายมอญ” คือ ผู้ที่มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย

100 กว่าปีมาแล้ว ขุมชนที่ตำบลบางกอบัว มีเศรษฐีสองคนผัวเมีย ทำมาค้าขายจนมีฐานะดี แต่ไร้ทายาทสืบทอดสกุล จึงมาปรากฏว่า เมื่อเราทั้งสองไม่มีผู้สืบสกุล อายุก็มากแล้วควรจำนำทรัพย์สมบัติของเราฝากไว้ในพระพุทธศาสนา เกลือกว่าในชาติหน้าจักได้ดำรงมนุษยสมบัติพร้อมบริวารและทายาทสืบไป

สอง สามีภรรยาจึงแจวเรือข้ามมาฝั่งตรงข้าม อันเป็นเขตเรือกสวยอันสงบ จึงติดต่อขอซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัด เจ้าของที่ดินเห็นว่าดีมีประโยชน์จึงขายให้ สองสามีภรรยาจึงสร้างวัดขึ้นจนสำเร็จและได้ให้นามวัดว่า “วัดเงิน”

ตาม ประเพณีของรามัญ เมื่อสร้างวัดและโบสถ์ตลอดจนขอพระราชทาน “วิสุงคามสีมา” แล้ว ต้องสร้างเจดีย์ทรงจอมแห (เจดีย์มอญแบบมัณทะเล) เอาไว้ จึงเป็นปฐมเหตุของเจดีย์ใหญ่ในวัด

เมื่อสร้างเจดีย์แล้ว ตามคตินิยมต้องสร้างพระไว้สืบอายุพระพุทธศาสนา จึงมีการสร้างพระขึ้นเพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ จากนั้นทุกอย่างก็ผันแปรไปตามกาลเวลา จนเกิดวัดข้างเคียงขึ้นโดยคหบดีชาวไทย ชื่อ “วัดทอง” เป็นที่สักการะของชาว ไทยและมอญตลอดมา

ประมาณปีพุทธ ศักราช 2460 เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เรือบรรทุกข้าวเปลือกจะไปส่งโรงสีที่พระประแดงที่โยงกันมา เกิดอุบัติเหตุหลุดจากพวง กระแสลมและน้ำพัดเอาเรือบรรทุกข้าวเปลือก ชนกระแทกกับพระเจดีย์ที่อยู่ริมน้ำจนเกิดรอยปริร้าวและชำรุดเป็นรูใหญ่ พระผงสีขาวทะลักออกมาเป็นจำนวนมาก

ทางวัดเงินได้รับการชดใช้ค่าเสีย หาย จึงบูรณะเจดีย์ใหม่ นำพระบรรจุกลับเข้าไป และสร้างเขื่อนกันกระแทกขึ้น เรื่องจึงยุติลง ทว่าชะตาวัดเงินยังไม่พ้นเคราะห์ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้สั่งให้สำรวจสถานที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อจัดสร้างท่าเทียบเรือ สินค้าและสำนักงานศุลกากร ให้เป็นมาตรฐานสากล คณสำรวจปักหมุดแดงลงบนพื้นที่ธรณีสงฆ์ของวัดเงินและวัดทองเป็นเขตเวนคืน ที่ดิน

พุทธศักราช 2490 พ.ร.บ. เวนคืนที่ดินประกาศใช้บังคับ กรรมการศาสนาประสานงานถอนวิสุงคามสีมาให้หมดสภาพวัด ให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้าง เพื่อมอบให้รัฐบาลดำเนินการสร้างท่าเรือ วัดเงินย้ายไปอยู่ตรอกวัดจันทน์ เปลี่ยนนามใหม่ว่า “วัดไผ่เงิน” ส่วนวัดทองย้ายไปอยู่ริมถนนสุขุมวิท เรียกว่า “วัดธาตุทอง”

ในระหว่างการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างในวัดเงิน เมื่อรื้อพระเจดีย์พบกรุพระจำนวนมหาศาลมีหลายหลากมากพิมพ์ ทางวัดได้นำออกมาให้บูชาเพื่อสมทบทุนโยกย้ายวัด จึงเป็นเหตุให้มีการแพร่หลายของพระกรุวัดเงินคลองเตย

จากประวัติที่ ทางวัดได้พิมพ์เผยแพร่ปรากฏ ข้อความตอนหนึ่งว่า
“วัดเงิน” เป็นวัดที่ผู้สร้างวัดเป็นเศรษฐีผู้ร่ำรวย เป็นชายไทยเชื้อสายมอญจากฝั่งบางกอบัวเจดีย์และพระที่พบในพระเจดีย์ จึงเป็นของแต่ครั้งสร้างวัด เมื่อ 80 กว่าปีก่อนเป็นแน่”

พระวัดเงิน คลองเตย เป็นพระเนื้อผงวิเศษผสมผงปูนหอย ไม่มีมวลสารอื่นใดนอกจากตังอั๊วและวัสดุโยงยืดบางอย่าง ที่นักเลงพระหลายท่านลงความเห็นว่า เป็นเม็ดขนุนนำมาต้มให้หนืดแล้วเอาแต่เนื้อมาโขลผสมกับผงวิเศษให้เนื้อนุ่ม และแกร่ง

มีคราบหินปูนอันเกิดจากแคลเซียมและปฏิกิริยาทา เคมีของเนื้อพระ กับความร้อนความเย็นและไอระเหยของกรดที่อยู่ในพระเจดีย์ที่เรียกว่า “คราบ ฟองเต้าหู้” ลักษณะคราบฟองเต้าหู้ของวัดพระเงินคลองเตยคล้ายกับคราบฟอง เต้าหู้ของพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ เปิดกรุเมื่อ พ.ศ. 2500 จนถือเป็นทฤษฏีว่า หากดูคราบกรุวัดเงินคลองเตยได้ ก็ดูคราบกรุบางขุนพรหมกรุใหม่ได้เช่นกัน

พระวัดเงินคลองเตยมีพระ พุทธคุณตามนามวัด คือ “เงิน” ผู้สวมใส่ติดตัวจะอุดมด้วยลาภผลและทรัพย์สินเงินทอง พ่อค้าแม่ค้าแถวตลาดคลองเตยนิยมแขวนกันมาก และยังมีแคล้วคลาด เช่น รถบรรทุกแม่ค้าผักย่านคลองเตยคว่ำเทกระจาด บาดเจ็บและตาบหลายคน แต่แม่ค้าที่แขวนพระเงินคลองเตยกับมีแค่รอยฟกช้ำตามสมควรเท่านั้น

ปัจจุบัน วัดพระเงินคลองเตย ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะพิมพ์พิเศษหรือพิมพ์สังกัจจายน์ราคาเป็นแสน แต่บางพิมพ์ก็พอหาได้ในหลักพันกลางถึงปลายเท่านั้น

นามของวัดว่า “วัดพระเงิน” เป็นมงคลอยู่ในตัว คนที่มีพระวัดเงินมักมีเงินติดตัวไม่ขาดมือ เป็นความเชื่อของนักเลงที่พูดกันมาจนทุกวันนี้

พระกรุวัด เงิน คลองเตย พิมพ์สังกัจจายน์ไม่มีหู

พระกรุวัด เงินคลองเตย พิมพ์สังกัจจายน์มีหู

พระกรุวัดเงิน คลองเตย พิมพ์หูบายศรีฐานสูง

พระ กรุวัดเงิน คลองเตย พิมพ์ซุ้มกอฐานเตี้ย   1. แขนกลม      2. แขนหักศอก

พระ กรุวัดเงิน คลองเตย พิมพ์พระคง            1. หน้าใหญ่(หน้าซาลาเปา)       2. หน้าเล็ก(หน้าเทวดา)

พระกรุวัดเงิน คลองเตย พิมพ์พระคงหน้าฤาษี                1.ฤาษีหน้าวัว              2. ฤาษีตาไฟ

พระ กรุวัดเงิน คลองเตย พิมพ์สังฆาฏิ

พระกรุวัดเงิน คลองเตย  พิมพ์เล็บมือ                          1. ปางมารวิชัย            2. ปางสมาธิ

พระกรุวัดเงิน คลองเตย พิมพ์พิเศษ    พระประจำวันทั้ง 7 วัน   และยังมีพิมพ์พิเศษอื่นอีกหลายพิมพ์

ใส่ความเห็น